ส่วนแบ่งค่า GP คืออะไร ? App สั่งอาหารแต่ละเจ้า หักค่า GP เท่าไหร่ ? ​​​​​​​พร้อมตัวอย่างคำนวณค่า GP

เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 62,337
เขียนโดย :
ส่วนแบ่งค่า GP คืออะไร ? App สั่งอาหารแต่ละเจ้า หักค่า GP เท่าไหร่ ? ​​​​​​​พร้อมตัวอย่างคำนวณค่า GP
ส่วนแบ่งค่า GP คืออะไร ? App สั่งอาหารแต่ละเจ้า หักค่า GP เท่าไหร่ ? ​​​​​​​พร้อมตัวอย่างคำนวณค่า GP
เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 62,337
เขียนโดย :

ส่วนแบ่งค่า GP คืออะไร ? App สั่งอาหารแต่ละเจ้า หักค่า GP เท่าไหร่ ? ​​​​​​

ในยุคที่การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเดลิเวอรี่ (Food Delivery Application) เป็นที่นิยม จะอยู่บ้านหรือที่ทำงานก็สามารถสั่งอาหารจากร้านค้าต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกกว่าการไปรับประทานอาหารที่ร้าน ทำให้มีแพลตฟอร์มสั่งอาหารต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย และร้านอาหารในหลาย ๆ ที่ต้องเริ่มปรับตัวเปลี่ยนมาขายอาหารในแอปสั่งอาหารกันมากขึ้น แทบจะกลายเป็นช่องทางหลักในการทำมาหากินในยุคนี้เลยก็ว่าได้

สั่งอาหารออนไลน์บนมือถือ

สำหรับลูกค้าที่สั่งอาหารอยู่เป็นประจำ อาจจะเคยสงสัยว่าราคาอาหารที่เราสั่งผ่านแอปต่าง ๆ นั้นมีราคาสูงกว่าราคาหน้าร้านที่เรากินอยู่ไม่น้อยเลย ซึ่งเหตุผลที่ร้านค้าเพิ่มราคาอาหารเข้าไป ก็เพราะว่าแอปพลิเคชันที่ให้บริการสั่งอาหาร จะเก็บค่าบริการเพิ่มเติมที่เรียกกันว่าค่า GP และ ค่า GP ที่ว่านี้คืออะไรกัน ? แอปสั่งอาหารแต่ละเจ้าหักค่า GP กันเท่าไหร่ ? ลองไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน

เนื้อหาภายในบทความ

 

ส่วนแบ่งค่า GP คืออะไร ?
(What is Gross Profit ?)

GP ย่อมาจากคำว่า "Gross Profit" มันคือค่าส่วนแบ่ง (Commission) หรือ ค่าดำเนินการ ที่ทางร้านต้องจ่ายให้กับผู้ให้บริการ โดยมีอัตราจัดเก็บที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นการเก็บค่าบริการ ซึ่งค่า GP เฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 30-35% หากร้านค้ามีชื่อเสียงเป็นที่นิยม ทางแพลตฟอร์มสั่งอาหารจะเก็บค่าดำเนินการไม่สูงมาก แต่ถ้าเป็นร้านปกติทั่วไปก็จะถูกเก็บตามจำนวนที่กำหนดไว้

GP (Gross Profit) คือ คำดำเนินการที่ทางแพลตฟอร์มเรียกเก็บจากทางร้านอาหาร

ส่วนแบ่งค่า GP ถูกนำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
(What is the Gross Profit share fee used to spend ?)

หลังจากที่เรารู้แล้วว่าค่า GP นั้นเปรียบเสมือนส่วนแบ่งที่แอปสั่งอาหารเจ้าต่าง ๆ เรียกเก็บจากร้านค้าโดยตรง และคุณสงสัยไหมว่าเปอร์เซ็นส่วนแบ่งที่ถูกเรียกเก็บไปนั้นถูกนำไปใช้ด้านใดบ้าง ?

ยกตัวอย่างข้อมูลจากทาง Grab Foood ที่เรียกเก็บค่า GP อยู่ที่ 30% สมมุติว่าลูกค้าสั่งอาหารต่อครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 150 - 200 บาท ค่าดำเนินการที่ถูกเรียกเก็บก็จะอยู่ที่ประมาณ 45 - 60 บาท ซึ่งในส่วนนี้จะมีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้

ตัวอย่าง : อาหาร 1 มื้อ ราคารวม 150 บาท

  • มีค่าจัดส่ง 20 บาท (อ้างอิงจากระยะการส่ง 5 กม. การคิดค่าส่ง ค่าบริการ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงเวลาและจำนวณผู้ใช้งาน ณ ขณะนั้น)
  • ยอดทั้งหมดที่ลูกค้าจ่าย 170 บาท

แล้วเงินที่ลูกค้าจ่ายหักไปกับค่าอะไรบ้างนะ ?

  • จ่ายให้ร้านอาหาร 105 บาท (คิดเป็น 70% ของราคาอาหาร)
  • จ่ายให้กับผู้ให้บริการ 45 บาท (คิดเป็น 30% ของราคาอาหาร)

ซึ่งในส่วนของ 30% ที่ว่านี้ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสั่งอาหารจะจ่ายให้กับคนขับ ประมาณ 50 - 60 บาท (คิดรวมจากค่าส่ง 20 บาท บวกค่าตอบแทนเพิ่มเติม ประมาณ 30 -  40 บาทให้แก่ผู้ขับ)

นอกจากนี้หลังจากที่ผู้ใช้บริการหักค่าตอบแทนแก่คนขับส่งอาหารเสร็จแล้ว จะมีค่าส่วนแบ่ง GP เหลืออยู่บางส่วน ค่าที่เหลือก็จะถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาแพลตฟอร์ม, แผนกบริการลูกค้า, การบริหารจัดการคนขับ, ค่าประกันภัย, โปรโมทโฆษณาร้านค้า, จัดโปรโมชันและส่วนลด, และค่าธรรมเนียมธุรกรรม เป็นต้น

แอปสั่งอาหารแต่ละเจ้า หักค่า GP เท่าไหร่ ?
(Commission Rates of Food Delivery Application)

ในประเทศไทยนั้นมีแพลตฟอร์มที่เปิดให้บริการสั่งอาหารออนไลน์อยู่มากมายหลายเจ้า ส่วนแพลตฟอร์มที่ผู้คนนิยมก็จะมี Grab Food, LINEMAN, Shopee Food, foodpanda, Robinhood, truefood เป็นต้น งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าแอปสั่งอาหารแต่ละเจ้า คิดค่า GP จากร้านอาหารกันเท่าไหร่ ?

แอปสั่งอาหารแต่ละเจ้า หักค่า GP เท่าไหร่ ?

  • Grab Food หักค่า GP 30% | โอนเงินหลังหักค่า GP ในวันถัดไป
  • LINEMAN หักค่า GP 30% | โอนเงินหลังหักค่า GP ในวันถัดไป (มูลค่าเกิน 500 บาท)
  • Shopee Food หักค่า GP 30% | โอนเงินหลังหักค่า GP ในวันถัดไป
  • foodpanda หักค่า GP 32% | โอนเงินตั้งแต่ 1, 7, 15, หรือ 30 วัน (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข)
  • Robinhood ไม่คิดค่า GP | โอนเงินภายใน 1 ชั่วโมง
  • true food ไม่คิดค่า GP | โอนเงินไม่ต้องรอข้ามวัน

ตัวอย่างการคำนวณค่า GP
(How to calculate Gross Profit ?)

ยกตัวอย่างการคำนวณค่า GP ของแพลตฟอร์มส่งอาหาร Grab Food ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ค่าบริการระบบ GP และ ภาษี VAT 7% ที่หักจากระบบอีกทีนึง หากใครยังไม่เห็นภาพ ลองดูตัวอย่างการคำนวณได้ที่ด้านล่างนี้ มีทั้งแบบคำนวณค่า GP ยอดขายรายวัน และ ค่าบริการต่อ 1 รายการอาหาร

คำนวณค่า GP ยอดขายรายวัน

ตัวอย่าง : ร้านอาหารแห่งนึง มียอดขายรายวันอยู่ที่ 10,000 บาท

  • ค่าบริการระบบ GP 30% ยอดขาย 10,000 x 30% = 3,000 บาท
  • หักภาษี VAT 7% ของระบบ GP = 3,000 + (7% x 3,000) = 3,210 บาท

ดังนั้น ร้านอาหารจะจ่ายค่าบริการระบบ GP ไป 3,210 บาท หักจากยอดขาย 10,000 บาท ก็จะเหลือ 6,790 บาท จากการขายอาหารทั้งวัน ที่ยังไม่หักต้นทุนและกำไรที่ได้

คำนวณค่า GP ต่อ 1 รายการอาหาร

ตัวอย่าง : ลูกค้าสั่งอาหาร 1 รายการ ราคา 100 บาท

  • ค่าบริการระบบ GP 30% ราคาอาหาร 100 x 30% = 30 บาท
  • หักภาษี VAT 7% ของระบบ GP = 30 + (7% x 30) = 32.1 บาท

ดังนั้น ร้านอาหารจะจ่ายค่าบริการระบบ GP ไป 32.1 บาท ต่ออาหาร 1 รายการ และจะได้เงินจากค่าอาหาร 67.9 บาท สมมุติว่าต้นทุนของอาหาร 1 จาน อยู่ที่ 30 บาท ก็จะได้กำไร 37.9 บาท นั่นเอง

สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วม แอปสั่งอาหารออนไลน์
(Benefits of joining Food Delivery Application)

จากที่เห็นแพลตฟอร์มส่งอาหารเจ้าต่าง ๆ นั้นมีการเรียกเก็บค่า GP ที่สูงไม่ใช่น้อย แต่ก็มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • ร้านค้ามีโอกาสที่ลูกค้าเห็นและรู้จักมากขึ้น
  • มีบริการคนรับอาหารไปส่ง
  • ไม่ต้องลงทุนโปรโมทร้านบ่อย ๆ
  • ไม่ต้องมีหน้าร้านก็ขายได้
  • มีคนช่วยทำการตลาด
  • รองรับการชำระผ่านระบบออนไลน์ได้
  • เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ขายและลูกค้า
  • เพิ่มโอกาสในการขายได้มากกว่าเดิม

แต่ในขณะเดียวกันในส่วนร้านอาหารที่ถูกเรียกเก็บค่า GP ที่สูง มีผลทำให้กำไรลดน้อยลง ซึ่งร้านอาหารบางแห่งที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้ ทำการดำเนินธุรกิจก็เป็นไปได้ยาก สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงไป

ดังนั้นเรื่องการคำนวณและจัดการต้นทุนก่อนจะเข้าร่วมแอปสั่งอาหารออนไลน์ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้าร้านค้าไหนมองเห็นโอกาส เริ่มบริหารจัดการต้นทุนได้ดีแล้ว การเข้าร่วมแอปสั่งอาหารออนไลน์ ก็น่าจะเป็นช่องทางในการขายที่ดีได้เช่นกัน