รู้จัก TaB โค้กเฮลตี้รุ่นแรกที่แฟน ๆ ประท้วงข้ามปีเมื่อประกาศเลิกผลิต

เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 5,872
เขียนโดย :
รู้จัก TaB โค้กเฮลตี้รุ่นแรกที่แฟน ๆ ประท้วงข้ามปีเมื่อประกาศเลิกผลิต
รู้จัก TaB โค้กเฮลตี้รุ่นแรกที่แฟน ๆ ประท้วงข้ามปีเมื่อประกาศเลิกผลิต
เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 5,872
เขียนโดย :

รู้จัก TaB โค้กเฮลตี้รุ่นแรกที่แฟน ๆ ประท้วงข้ามปีเมื่อเลิกผลิต

ถ้าพูดถึงน้ำอัดลมแล้วละก็ เชื่อว่าชื่อของแบรนด์ดังอย่าง “โค้ก” หรือ Coca-Cola ก็น่าจะเป็นชื่อลำดับแรก ๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึงกันอย่างแน่นอน แต่พอพูดถึงชื่อของ Coke TaB แล้วละก็ คนไทยหลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จักและสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ ? เป็นโค้กรสใหม่รึเปล่า ? แล้วทำไมถึงเกิดกระแสเรียกร้องให้ทางบริษัทกลับมาผลิตใหม่กันนะ ?

รู้จัก TaB โค้กเฮลตี้รุ่นแรกที่แฟน ๆ ประท้วงข้ามปีเมื่อเลิกผลิต
ภาพจาก : https://www.ingredientsnetwork.com/cocacola-to-discontinue-production-of-tab-soda-news085577.html

เนื้อหาภายในบทความ

Coke TaB เครื่องดื่มทางเลือกรุ่นบุกเบิก

ความจริงแล้ว Coke TaB ดที่ว่านี้เป็นโค้กทางเลือกเพื่อสุขภาพ “รุ่นแรก” ของทางบริษัท Coca-Cola ที่วางจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506) โดยแรกเริ่มทางบริษัทได้ผลิต โค้กรสชาติแบบนี้ ออกมาเพื่อ “ดึงตลาดลูกค้าผู้รักสุขภาพ” เป็นหลัก เนื่องจากผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทอย่างโค้กรสดั้งเดิม (Original Coke) นั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก ดังนั้นจึงได้ออกผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่อย่าง “Coke TaB” ที่มีน้ำตาลน้อยกว่าโค้กสูตรธรรมดามาเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคสามารถเพลิดเพลินกับความอร่อยของโค้กได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพ

ซึ่งหลังจากที่ Coke TaB ได้ออกวางจำหน่ายในตลาดมันก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มลูกค้าผู้หญิงและเป็นตัวช่วยสร้างกำไรให้บริษัทในช่วงยุค ‘70s - ’80s ได้ไม่น้อย แต่ทาง Coca-Cola ก็ไม่ได้หยุดแค่การพัฒนา “Coke TaB” เพียงเท่านั้น เพราะในเวลาถัดมาทางบริษัทก็ได้เปิดตัว “โค้กทางเลือกเพื่อสุขภาพ” แบบใหม่ ๆ ออกมาให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลองกัน ทั้ง Diet Coke (หรือที่คนไทยคุ้นเคยกันในชื่อ Coke Light) ที่วางจำหน่ายในปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) และ Coke Zero ที่วางขายราวช่วงปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)

Diet Coke (Coke Light), Coke Zero
ภาพจาก : https://pulptastic.com/coke-zero-vs-diet-coke/

จุดจบของ Coke TaB

เมื่อผู้บริโภคมี “ทางเลือก” ที่มากขึ้นก็ทำให้ยอดขายของ Coke TaB นั้นถูกเฉลี่ยไปให้โค้กรุ่นน้องอย่าง Coke Light และ Coke Zero จนในที่สุดทางบริษัท Coca-Cola ก็ตัดสินใจออกมาประกาศยุติการผลิตโค้กเพื่อสุขภาพสูตรเก่าแก่นี้ลงในช่วงปลายปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) เพราะมัน “ไม่ทำกำไร” ให้กับบริษัทเท่าที่ควร

แต่สิ่งที่ทำให้กระแสของ “Coke TaB” กลับมาโด่งดังและเป็นที่พูดถึงกันอีกครั้งก็เป็นเพราะชาว “Tabaholic” (กลุ่มคนที่ชื่นชอบ Coke Tab) ได้ออกมาตั้งจัดองค์กรและเว็บไซต์ “Save Tab Soda” เพื่อเรียกร้องให้ทางบริษัทนำเอา Coke TaB ที่พวกเขาชื่นชอบกลับมาจำหน่ายอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้นำขององค์กรนี้อย่าง Adam Burbach ก็ได้ออกมาเผยว่า

เรากำลังวางแผนกลยุทธ์ให้ทางบริษัท Coca-Cola เปลี่ยนใจนำเอา Coke TaB มาขายอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้มีทุนสำหรับการเช่าป้าย Billboard จากการลงขันร่วมกันกว่า 4,000 ดอลลาร์ (ราว 130,000 บาท) แล้ว และเรายังได้ติดต่อกับบริษัทโฆษณาอีกหลายเจ้าเตรียมพร้อมเอาไว้แล้วด้วย

Bilboard ทวงคืน Coke TaB
ถ้าชาว Tabaholic ระดมเงินกันได้มากเพียงพอก็ไม่แน่ว่าเราอาจได้เห็นป้าย Bilboard ทวงคืน Coke TaB กันก็เป็นได้
ภาพจาก : https://www.adweek.com/brand-marketing/save-tab-soda-business-case-bringing-it-back-coke/

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเฉพาะแค่เสียงของสาวกชาว Coke TaB เท่านั้นที่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจยกเลิกการผลิต Coke TaB ของบริษัท Coca-Cola ลง เพราะผู้บริโภคส่วนหนึ่งก็ออกมากล่าวว่าพวกเขารู้สึกโล่งใจกับการตัดสินใจครั้งนี้ของบริษัท เพราะ Coke TaB นั้นถือเป็น “ความทรงจำอันเลวร้าย” ของพวกเขาในวัยเด็กเลยก็ว่าได้

ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Coke TaB ถึงช่วยในการลดน้ำหนักได้ เพราะวันนั้นที่ฉันตั้งใจจะงดของหวานหลังอาหาร ฉันดื่ม Coke TaB เข้าไปและรู้สึกว่าพอกันที มันหวาน หวานมาก ๆ และ Aftertaste ของมันก็อย่างกับน้ำยาขัดเงา ฉันรู้สึกเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาเลยหลังดื่มมันหมด ยิ่งดื่มไปพร้อม ๆ กับเชอร์รีเชื่อมมันก็ยิ่งเบนความสนใจของฉันไปจากของหวานแสนอร่อยได้อยู่หมัด

และนอกเหนือไปจาก Coke TaB แล้ว ทางบริษัท Coca-Cola ก็ยังได้ประกาศยกเลิกการผลิตเครื่องดื่มตัวอื่น ๆ อย่าง Diet Coke Feisty Cherry, Diet Coke Lime, Coca-Cola Life, Coca-Cola BlaK, Coca-Cola C2, New Coke, OK Soda, Odwalla, Zico และเครื่องดื่มอื่น ๆ อีกราว 200 รายชื่อ (หลาย ๆ อันก็ไม่รู้จักและไม่คุ้นเลย น่าจะเป็นเครื่องดื่มที่มีขายแค่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น)

ดังนั้นแล้วข้อเรียกร้องของชาว Tabaholic ที่เป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ เพียง “ส่วนหนึ่ง” ในรายชื่อเครื่องดื่มที่บริษัทประกาศยกเลิกการวางจำหน่ายก็น่าจะถูกปัดตกไปโดยปริยาย และทำให้มันกลายเป็นอีกเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะ “ถูกลืม” กันไปในเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน

สไลด์รูปภาพ

 Diet Coke Feisty CherryCoca-Cola LifeCoca-Cola BlaKCoca-Cola C2New CokeOK SodaOdwallaZico

ภาพจาก : shorturl.at/dDIRU,shorturl.at/crEPY, shorturl.at/elsJ1, shorturl.at/crKPV, shorturl.at/wzHJL, shorturl.at/chBM7, shorturl.at/cyKMZ และ shorturl.at/wFK59

Coke TaB กระทบต่อสภาพการเงินของบริษัทและสุขภาพผู้บริโภค

อีกประเด็นหนึ่งที่ทางบริษัท Coca-Cola ตัดสินใจยุติการผลิต Coke TaB และ (คาดว่าน่าจะ) เมินเฉยต่อข้อเรียกร้องของชาว Tabaholic ต่อไปนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เหตุผลด้านการตลาดที่มันไม่ได้ทำกำไรให้กับบริษัทให้งอกเงยขึ้นเหมือนกับโค้กทางเลือกรุ่นใหม่ ๆ อย่าง Coke Zero และ Coke Light เท่านั้น แต่ยังมีงานวิจัยพบว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลของ Coke TaB อย่าง “Saccharin” นั้นยังเป็น “สารก่อมะเร็งในหนู” ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์เมื่อบริโภคเข้าไปเป็นจำนวนมากอีกด้วย

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาวิจัยออกมาว่าเครื่องดื่มประเภท Diet Soda (ทุกยี่ห้อ) นั้นมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานรูปแบบที่ 2 (Diabete Type 2) และหลายคนน่าจะทราบกันดีว่าการดื่มน้ำอัดลม (ทุกชนิด) เป็นจำนวนมากนั้นไม่  “ส่งผลดี” ต่อร่างกาย แต่ตราบใดที่ผู้บริโภคยังคงชื่นชอบและทางบริษัทยังคงทำกำไรได้จากการจำหน่ายเครื่องดื่มเหล่านี้ เราก็น่าจะเห็นมันอยู่บนชั้นต่อไปอย่างแน่นอน (ทางที่ดีแนะนำให้บริโภคแต่น้อย และออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเหมือนที่ระบุเอาไว้ข้างฉลากน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด)

เครื่องดื่มไดเอทโซดา เสี่ยงเบาหวาน
ภาพจาก : https://www.pat-diabetes.org/blog/diet-drinks-soda-risk-of-developing-type-2-diabetes

และไม่ใช่แค่บริษัท Coca-Cola เท่านั้นที่มีการปรับกลยุทธ์และแผนการตลาดของบริษัทอย่างการ “ตัดผลิตภัณฑ์” ที่มียอดขายน้อยออก เพราะบริษัทส่วนมากเองก็ใช้วิธีนี้ในการ “ลดต้นทุน” การผลิตสินค้าที่มีกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มลง และหันไปสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีกลุ่มผู้บริโภคในตลาดมากกว่าแทน แม้ว่าอาจจะทำให้เสียกลุ่มลูกค้าที่มี ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) กับผลิตภัณฑ์บางตัวไป แต่การยื้อสินค้าที่ไม่ได้สร้างยอดขายให้กับบริษัทมากนักเอาไว้นั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรอยู่ดี