6 วิธีกระตุ้นยอดขายด้วย Live สดขายของบนโซเชียลมีเดีย

เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 6,350
เขียนโดย :
6 วิธีกระตุ้นยอดขายด้วย Live สดขายของบนโซเชียลมีเดีย
6 วิธีกระตุ้นยอดขายด้วย Live สดขายของบนโซเชียลมีเดีย
เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 6,350
เขียนโดย :

6 วิธีกระตุ้นยอดขายด้วย Live สดขายของบนโซเชียลมีเดีย

ช่วงหลายปีมานี้กระแส ไลฟ์สดขายของ (Live Shopping) บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย นั้นได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้มันกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางการกระตุ้นยอดขายของแบรนด์ต่าง ๆ ให้เข้าถึงลูกค้าง่ายขึ้น เพราะไม่เพียงแต่ทางแบรนด์จะได้มีโอกาส "พูดคุย" กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ผู้เข้าชมสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

บทความเกี่ยวกับ Online Marketing อื่นๆ

6 วิธีกระตุ้นยอดขายด้วย Live สดขายของบนโซเชียลมีเดีย
ภาพจาก : https://shop.tiktok.com/business/en

เนื่องจากการ Live สดขายของ เพื่อขายสินค้านั้น จะต้องนำเอาตัวผลิตภัณฑ์มาออกกล้องจริง ๆ ทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนได้เห็นสินค้า (ผ่านกล้อง) แทนที่จะเป็นรูปประกอบเพื่อการโฆษณาที่ต้องอ่านคำอธิบายรายละเอียดสินค้า และได้เห็น "ขนาด" และสีสันของผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับคนจริง ๆ (โฮสต์ที่ทำการ Live)

และนอกจากนี้แล้วพอ "เอฟ" ของได้สำเร็จหลาย ๆ คนก็รู้สึก "มีความสุข" จากการได้ครอบครองสินค้าชิ้นนั้น ๆ (ดีใจที่แย่งเอฟทันคนอื่่น) มากกว่าการกดสินค้าลงตะกร้าตามปกติ การ Live สดขายของ จึงเป็นช่องทางกระตุ้นยอดขายให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

รวมศัพท์การ Live Shopping 
 

ซึ่งถ้าแบรนด์ไหนต้องการที่จะเริ่มทดลอง Live สดขายของ ดูบ้างแต่ยังจับจุดไม่ถูก เราก็ได้นำเอาเคล็ด (ไม่) ลับ ช่วยกระตุ้นยอดขายจากการ Live ขายของมาฝากกัน

เนื้อหาภายในบทความ

  1. เลือกแพลตฟอร์มที่ใช่ ในการไลฟ์สดขายของ
    (Choose the right platform to live)
  2. เลือกโฮสต์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย
    (Choose a host that matches your target audience)
  3. เลือกเวลาในการไลฟ์สดขายของ ให้เหมาะสม
    (Choose the right time to live)
  4. ประชาสัมพันธ์ หรือ โปรโมทไลฟ์สดขายของ
    (Promote Live)
  5. เพิ่มความน่าสนใจ ให้การไลฟ์สดขายของ
    (Add an interesting thing to the live)
  6. บันทึกการไลฟ์สดขายของ และเปิดให้รับชมย้อนหลังได้
    (Record live and let it view retrospectively)

1. เลือกแพลตฟอร์มที่ใช่ ในการไลฟ์สดขายของ
(Choose the right platform to live)

Platform ยอดนิยมที่แบรนด์ต่าง ๆ นิยมทำการ Live สดขายของ มากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นแพลตฟอร์ม Facebook, Instagram, TikTok และการ Live ผ่าน แอปพลิเคชัน (Application) ช้อปปิ้งออนไลน์ โดยอาจนำเอา ยอด Engagement บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ มาวิเคราะห์ว่ากลุ่มลูกค้าของเราชื่นชอบการใช้งานแพลตฟอร์มใดมากที่สุด หรืออาจทดลอง Live บนแต่ละแพลตฟอร์มแล้วเอายอดตัวเลขมาเปรียบเทียบกันก็ได้

เลือก Platform ที่ใช้ในการ Live
ภาพจาก : https://www.andrewmacarthy.com/andrew-macarthy-social-media/instagram-live-shopping-tips-guide-strategy

2. เลือกโฮสต์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย
(Choose a host that matches your target audience)

ควรเลือกโฮสต์ (Host) หรือคนที่ออกหน้ากล้อง ที่มีช่วงอายุที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายของเรา เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตรและช่วยให้ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์เวชกรรมอาจเลือกใช้ Host ที่ดูภูมิฐานและมีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ มาดำเนินการ Live สดขายของ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าของเรา

เลือกโฮสต์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย (Choose a host that matches your target audience)
ภาพจาก : https://restream.io/blog/what-is-live-shopping-and-why-do-retailers-need-it/

3. เลือกเวลาในการไลฟ์สดขายของ ให้เหมาะสม
(Choose the right time to live)

ช่วงเวลาในการไลฟ์สดขายของนั้น ถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ลูกค้าเข้ามารับชมและเลือกซื้อสินค้าผ่านการ Live  สดขายของ ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือกช่วงเวลาการ Live ที่เหมาะสม โดยหลัก ๆ แล้วไม่แนะนำให้ Live ช่วงกลางวันในวันธรรมดาเพราะคนส่วนใหญ่ติดเรียนหรือทำงาน

ซึ่งถ้าหากต้องการ Live สดขายของ ในช่วงกลางวัน ก็อาจจะเลือก Live ในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือ Live วันธรรมดาช่วงเวลาหลังเลิกเรียน / เลิกงานเป็นต้นไป นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาช่วงเวลาการเข้าใช้งานโซเชียลมีเดียและกลุ่มอายุของลูกค้ามาพิจารณาเลือกเวลาการ Live ได้ด้วย

เลือกเวลาในการไลฟ์สดขายของ ให้เหมาะสม (Choose the right time to live)
ภาพจาก : https://www.shopstudio.live/blog/how-to-host-live-shopping-event

ส่วน "ระยะเวลา" ที่ใช้ในการ Live สดขายของ ก็ควรจะมีการแบ่งช่วง (พูดคุย - ขายสินค้า) สลับกันไปเพื่อไม่ให้ผู้ชมรู้สึกเบื่อ และกำหนดตารางการ Live เอาไว้อย่างชัดเจน (ไม่ควร Live ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือ Live ถี่ ๆ เพราะผู้ชมอาจหมดความสนใจได้)

4. ประชาสัมพันธ์ หรือ โปรโมทไลฟ์สดขายของ
(Promote Live)

โปรโมทการ Live สดขายของ ของเราให้ผู้ชมได้รับทราบ โดยอาจตั้งโพสต์ และตัวแจ้งเตือน (Reminder) อย่างการนับถอยหลังกิจกรรมการ Live และหมั่นโพสต์โปรโมต Live บ่อย ๆ หรือซื้อโฆษณาเพื่อโปรโมตการ Live พร้อมระบุช่องทางการติดตาม Live อย่างชัดเจน

ประชาสัมพันธ์ หรือ โปรโมทไลฟ์สดขายของ (Promote Live)
ภาพจาก : https://www.giosg.com/blog/live-shopping

5. เพิ่มความน่าสนใจ ให้การไลฟ์สดขายของ
(Add an interesting thing to the live)

เพิ่มลูกเล่นภายใน Live สดขายของ เพื่อดึงความสนใจให้ลูกค้าอยากกดเข้ามาดู Live ของเรา และอยู่ดู Live จนจบหรือตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าระหว่างการ Live เช่น

จัดโปรพิเศษระหว่างการ Live สดขายของ

เช่น ลดราคานาทีทอง (Flash Sale), ส่งฟรี, แจกของ หรือโปรโมชันส่งเสริมการขายอื่น ๆ พร้อมแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าว่าจะมี "โปรโมชันพิเศษ" เฉพาะช่วงเวลาการ Live สดขายของ เท่านั้น เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากเข้ามาเลือกชมสินค้าใน Live ของเรา

จัดกิจกรรมระหว่างการ Live สดขายของ

เช่น เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่, เชิญ Host รับเชิญจากภายนอกมาพูดคุยกับแฟนเพจ, จัดช่วงพูดคุยตอบคำถาม (Q&A Session) เป็นต้น

จัดกิจกรรมระหว่างการ Live สดขายของ
ภาพจาก : https://www.switcherstudio.com/blog/how-to-grow-your-live-shopping-audience

เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมระหว่างการ Live สดขายของ

ชวนผู้ชมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ กับทางแบรนด์ / หรือโฮสต์ (Host) จัดกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายใน Live สดขายของ และเก็บผลตอบรับ (Feedback) สอบถามข้อเสนอแนะและความสนใจหลังการ Live เพื่อนำเอาไปปรับปรุงในการ Live ครั้งถัดไป

เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมระหว่างการ Live สดขายของ
ภาพจาก ; https://www.shopstudio.live/blog/how-to-host-live-shopping-event

6. บันทึกการไลฟ์สดขายของ และเปิดให้รับชมย้อนหลังได้
(Record live and let it view retrospectively)

การบันทึก Live สดขายของ เอาไว้ให้รับชมย้อนหลังได้นั้น นอกจากจะเปิดโอกาสให้ลูกค้าบางคนที่มาไม่ทัน Live ของเราได้รับชมย้อนหลังเพื่อดูตัวสินค้าจริง ๆ แล้ว ยังช่วยให้ลูกค้าเห็นโปรโมชันที่น่าสนใจระหว่าง Live ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกในการ "อยากรับชม" มากยิ่งขึ้นและเพิ่มโอกาสในการเข้าชม Live ครั้งถัดไปได้

และนอกจากนี้แล้ว ทางแบรนด์ยังสามารถย้อนกลับมาดูประวัติการ Live สดขายของ เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น - จุดด้อยที่ควรพัฒนาและปรับปรุงในการ Live ครั้งถัด ๆ ไปได้อีกด้วย

บันทึกการไลฟ์สดขายของ และเปิดให้รับชมย้อนหลังได้ (Record live and let it view retrospectively)
ภาพจาก : https://www.shopstudio.live/blog/how-to-host-live-shopping-event