ทำไมคนถึง Unfriend เพื่อนบน Facebook ? มาดูเหตุผลจากนักวิจัยกัน

เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 18,226
เขียนโดย :
ทำไมคนถึง Unfriend เพื่อนบน Facebook ? มาดูเหตุผลจากนักวิจัยกัน
ทำไมคนถึง Unfriend เพื่อนบน Facebook ? มาดูเหตุผลจากนักวิจัยกัน
เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 18,226
เขียนโดย :

เหตุผลของการ "Unfriend" เพื่อนใน Facebook คืออะไร ?

น่าจะเป็นเหตุการณ์ที่อยู่คู่กับทุกคนที่รู้จักแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย กับเหตุการณ์ "เลิกเป็นเพื่อน หรือ อันเฟรนด์ (Unfriend)" ซึ่งไม่ว่าจะถูก Unfriend จากคนอื่น, เป็นคน Unfriend คนอื่นซะเอง ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง การ Unfriend ในโลกออนไลน์ ก็นำไปสู่การเลิกคบหากันในชีวิตจริง แล้วทำไมการ Unfriend นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่จบลง ? มารู้จักเหตุผลที่ผู้คน Unfriend กันบนโลกออนไลน์ เผื่อจะได้นำไปใช้พิจารณาพฤติกรรมของตัวเองและผู้อื่น

บทความเกี่ยวกับ Facebook อื่นๆ

ในบทความวิจัย ชื่อว่า "Adolescents' Reasons to Unfriend on Facebook" แปลเป็นไทยได้ว่า "เหตุผลของวัยหนุ่มสาวที่จะ Unfriend เพื่อนบน Facebook" เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเหตุผลที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการเลิกเป็นเพื่อนบน Facebook ของกลุ่มเป้าหมายวัยหนุ่มสาวเมื่อปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นหนุ่มสาวที่มีบัญชี Facebook เป็นของตัวเอง เป็นผู้ใช้ภาษาเยอรมันจำนวน 2,201 คน

เนื้อหาภายในบทความ

คำว่า Unfriend มีที่มาอย่างไร ?
(Where does the word Unfriend come from ?)

ในงานวิจัยระบุว่า คำว่า "Unfriend" นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) และถูกบรรจุลงพจนานุกรม New Oxford American Dictionary ในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) แถมยังได้เป็น Oxford Word of the Year 2009

ส่วนเว็บไซต์ Etymonline.com ได้ให้ที่มาของคำว่า Unfriend ว่า มาจากแพลตฟอร์ม Facebook ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) เดิมทีคำว่า Unfriend เป็นภาษาสก๊อตแลนด์ ใช้ในความหมายว่า "การกำจัดศัตรู" คำนี้ถูกใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 จนถึงศตวรรษที่ 19 กันเลยทีเดียว

ทำไมคำว่า Unfriend ถูกใช้ในการ เลิกเป็นเพื่อน ?
(Why Unfriend is used as removal from Friend Lists ?)

ส่วนหนึ่งมาจากความยอดนิยมของ Facebook ที่ใคร ๆ ก็ใช้ติดต่อสื่อสารรวมถึงการทำงาน จึงทำให้การนำคำเฉพาะ จาก Facebook มาใช้กันในชีวิตจริง ประกอบกับการกด Unfriend ก็คือ การที่ Facebook ของ 2 บัญชีไม่เชื่อมต่อกัน ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเห็นเรื่องราวของกันและกันอีกต่อไป เมื่อ Facebook แทรกซึมในชีวิตของทุกคน การนำคำศัพท์จากสิ่งที่พบเห็นทุกวันมาใช้ก็เกิดขึ้น

ปุ่ม Unfriend บน Facebook

เหตุผลของการ Unfriend มีอะไรบ้าง ?
(What are the reasons to be unfriended ?)

ก่อนที่จะเกิดการ Unfriend ต้องมีผู้ใช้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกด "ปุ่มเพิ่มเพื่อน (Add Friend Button)" บนหน้าโปรไฟล์ Facebook เสียก่อน และผู้ใช้อีกฝ่ายต้องยินยอมที่จะรับผู้ใช้ฝั่งแรกเป็นเพื่อนกัน ถ้าพูดให้ถูกก็คือสามารถติดต่อสื่อสารกันได้บน Facebook มากกว่าที่จะเป็นเพื่อนกันจริง ๆ ซึ่งแตกต่างจากโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ที่มีเพียงการติดตาม (Follow) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยที่อีกฝ่ายไม่ต้องรับเป็นเพื่อน เช่น ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม

จุดประสงค์การใช้งาน Facebook ที่งานวิจัยฉบับนี้กล่าวถึง แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  1. ติดต่อเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันนาน เช่น เพื่อนสมัยเด็ก เพื่อนร่วมรุ่นประถม มัธยมศึกษา
  2. ใช้เพิ่มและติดต่อเพื่อนใหม่ เช่น เพื่อนที่ทำงาน ลูกค้า

โดยเพื่อนประเภทแรกเป็นกลุ่มที่รู้จักนิสัยใจคอในสังคมมาก่อนที่จะรู้จักในโลกออนไลน์ ส่วนเพื่อนประเภทหลัง มักได้ทำความรู้จักทั้งด้านออนไลน์และออฟไลน์ไปพร้อม ๆ กัน หรือบางคนอาจไม่เคยเจอตัวจริงมาก่อนก็ได้ ได้ทำความรู้จักบนโลกออนไลน์เพียงอย่างเดียวมากกว่า ซึ่งจากการสำรวจของงานวิจัยนี้ เบื้องต้นพบว่า การ Unfriend เหตุผลมีทั้งมาจากพฤติกรรมบน Facebook ที่ไม่น่าพอใจ ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมที่พบเห็นได้นอกโลกออนไลน์ร่วมด้วย

สำหรับเหตุผลที่ทำให้ใครสักคนตัดสินใจ Unfriend นั้นมีมากมาย เชื่อว่าทุกคนน่าจะต้องเคยเจอสัก 1 เหตุผลด้านล่างนี้

  • เจอเพื่อนที่โพสต์และแชร์เนื้อหาบางประเภทถี่เกินไป เช่น หัวข้อศาสนา การเมืองที่มีการแบ่งขั้วอย่างชัดเจน เนื้อหาเกี่ยวกับการแบ่งแยกเชื้อชาติ เหยียดเพศ
  • เจอเพื่อนที่โพสต์น้อยเกินไป ผู้ใช้บางคนมองว่าอีกฝ่ายไม่ยอมมีการติดต่อสื่อสารหากัน
  • เจอเพื่อนที่ส่งคำขอจากเกมต่าง ๆ มากเกินไป
  • เจอเพื่อนที่มีปัญหากันอยู่แล้วในชีวิตจริง

แล้วใคร Unfriend ใครก่อน ? จากการวิจัยพบว่า ผู้ใช้ที่ไปขอ Add Friend เป็นเพื่อนกับอีกฝ่าย มีแนวโน้มที่จะ Unfriend หรือจบความสัมพันธ์บน Facebook เสียเอง ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของอีกฝ่ายที่ไม่ตรงตามที่คาดหวัง หรือเจอพฤติกรรมที่พึงประสงค์ภายหลังก็เป็นได้

เหตุผลของการ Unfriend มีอะไรบ้าง ? (What are the reasons to be unfriended ?)
ภาพจาก : https://www.researchgate.net/figure/Research-Model-of-Unfriending-and-Becoming-Unfriended-on-Facebook-Source-Modified-from_fig2_308568706

จากภาพข้างต้น จะเห็นว่า การ Unfriend จะมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้กระทำ คือ ผู้กด "ปุ่ม Unfriend" และผู้กระทำ ก็คือ ผู้ที่ถูก Unfriend ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้รับผลกระทบทางความคิด จิตใจที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

ผลกระทบที่มีต่อผู้ Unfriend
(Actively Unfriending)
ผลกระทบที่มีต่อผู้ถูก Unfriend
(Passively Unfriending)
  1. ความสัมพันธ์จบลง (Relationship End)
  2. เหตุผลของการจบความสัมพันธ์ (Reasons)
  3. ผลกระทบทางอารมณ์ (Emotions)
  4. การหลบเลี่ยง (Avoidance)
  5. ทางเลือกอื่นหลังจากนี้ (Alternatives)
  6. การจดจำ ความทรงจำ (Memory/Apps)
  1. ความสัมพันธ์จบลง (Relationship End)
  2. ผลกระทบทางอารมณ์ (Emotions)
  3. การหลบเลี่ยง (Avoidance)
  4. การจดจำ ความทรงจำ (Memory/Apps)

สถิติของการ Unfriend เป็นอย่างไร ?
(Unfriend Statistics)

สำหรับสิ่งที่บอกเหตุก่อนเกิดการ Unfriend คือ การโพสต์ Facebook ที่สร้างความตึงเครียดให้กับความสัมพันธ์ โพสต์ที่มีเจตนาส่อไปในทางชวนให้เลิกคบหากับอีกฝ่าย และคุกคามแนวคิดของผู้ที่ได้อ่านโพสต์นั้น ๆ โดยนักวิจัย Sibona และ Walczak เมื่อปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) และ Madden เมื่อปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) ได้แจกแจงถึงเหตุผลต่าง ๆ ของการ Unfriend ที่เจอจากการสำรวจดังต่อไปนี้

  • 74% ของกลุ่มสำรวจ เคย Unfriend เพื่อนออกจาก Facebook
  • 58% ของกลุ่มสำรวจ เคยบล็อกเพื่อนออกจากโซเชียลมีเดียส่วนตัว
  • กลุ่มสำรวจเพศหญิง Unfriend เพื่อนมากกว่าเพศชาย
  • 55 % ของกลุ่มสำรวจระบุว่า พวกเขาเลิกเป็นเพื่อนกับอดีตเพื่อนด้วยเหตุผลที่เจอจากช่องทางออนไลน์
    • 62% ของกลุ่มดังกล่าว Unfriend เมื่อเจอโพสต์ที่ไม่สลักสำคัญ
    • 36% ของกลุ่มดังกล่าว Unfriend เมื่อเจอหัวข้อที่ไม่เหมาะสม
    • 33% ของกลุ่มดังกล่าว Unfriend เพราะความถี่ในการโพสต์ที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
  • 28% ของกลุ่มสำรวจ เลิกเป็นเพื่อนบนโซเชียลมีเดีย เพื่อตอบสนองพฤติกรรมในโลกออฟไลน์
    • 70% ของกลุ่มดังกล่าว Unfriend เพราะบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของอีกฝ่าย
    • 62% ของกลุ่มดังกล่าว Unfriend เพราะเจอพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
    • 57% ของกลุ่มดังกล่าว Unfriend เพราะการกระทำที่ผิด ๆ ของอีกฝ่าย
สไลด์รูปภาพ

 สถิติของการ Unfriend เป็นอย่างไร ?ทำไมคนถึง Unfriend เพื่อนบน Facebook ? มาดูเหตุผลจากนักวิจัยกัน

ตารางแสดงสถิติเหตุผลของการ Unfriend เพื่อนบนเฟซบุ๊ก
ภาพจาก : https://www.researchgate.net/publication/328376490_Adolescents%27_Reasons_to_Unfriend_on_Facebook

นอกจากนี้ ผู้รับการสำรวจบางคนในกลุ่มที่ Unfriend ด้วยเหตุผลทางออฟไลน์ ให้เหตุผลว่า พวกเขา Unfriend เพราะไม่ชอบพฤติกรรมของเพื่อน หรือมีประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ เช่น เพื่อนย้ายโรงเรียน ย้ายที่อยู่ไปที่ห่างไกล คู่รักเลิกคบหากัน ซึ่งตรงกันข้ามกับบุคคลที่รู้จักกันในช่วงเวลาสั้น ๆ

โดยคนที่รู้จักกันมาเป็นเวลานานมักจะเลิกเป็นเพื่อนกันด้วยเหตุผลบางประการ เช่น การโพสต์ที่มากเกินไปในหัวข้อที่มักมีการแบ่งขั้ว และนั่นทำให้โอกาสในการอ้างเหตุผลขณะคบหาว่าเป็นสาเหตุของการเลิกเป็นเพื่อน (เช่น การกระทำที่ผิด รสนิยมที่แตกต่าง ฯลฯ) ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ตำแหน่งของ ปุ่ม Unfriend บนเฟซบุ๊กก็สำคัญ
(Unfriend button position in Facebook is also important)

นอกจากนี้ งานวิจัยยังสันนิษฐานว่า ตำแหน่งของปุ่ม Friends ที่ใช้ในการ Unfriend และจัดการด้านอื่น ๆ ยังอยู่ในตำแหน่งที่เอื้อต่อการ Unfriends ง่ายขึ้น หากเข้าไปที่โปรไฟล์ของเพื่อนที่ต้องการ Unfriend จะพบว่าปุ่มถูกวางตำแหน่งที่พบเห็นได้ทันที ไม่ต้องเลื่อนหน้าจอค้นหาอีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถกด Unfriend ได้ภายใน 2-3 คลิก นั่นทำให้ขั้นตอนการ Unfriend เป็นเรื่องง่ายเข้าไปอีก

ตัวอย่างโปรไฟล์ Facebook ที่เปิดบนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโปรไฟล์ Facebook ที่เปิดบนคอมพิวเตอร์

อย่างไรก็ตาม การ Unfriend ยังต้องไล่รายชื่อเพื่อนแล้วกด Unfriend ทีละคน ยังใช้ไม่ได้กับผู้ที่ต้องการลบเพื่อนบน Facebook จำนวนมากในคลิกเดียว นอกจากจะใช้ตัวช่วย เช่น ส่วนเสริม หรือ ส่วนขยาย Google Chrome แต่วิธีนี้ก็ยังไม่เสถียรมากนัก หากใครยังไม่มีเวลาว่างไล่ลบเพื่อนคราวละมาก ๆ ก็คงต้องใช้ประโยค "เพื่อนเต็ม กรุณากดติดตาม" กันไปก่อน

อ่านเพิ่มเติม : วิธีลบเพื่อนใน Facebook ทีละหลาย ๆ คนในคลิกเดียว ด้วยส่วนเสริมของ Google Chrome

วิธีอื่น ๆ ที่นำไปสู่การยุติความสัมพันธ์
(Other ways to end a relationship)

แต่ถ้าใครไม่อยาก Unfriend เพื่อบน Facebook จริง ๆ แล้วเขาก็มีวิธีอื่นให้เลือกใช้กัน จะใช้วิธีที่ละมุนละม่อมกว่า หรือวิธีตัดใจแบบเจ็บแต่จบก็เลือกกันได้ตามชอบ

วิธีอื่น ๆ ที่นำไปสู่การยุติความสัมพันธ์

Block (บล็อก)

บางคนอาจคิดว่านี่เป็นวิธีที่ร้ายแรงกว่า Unfriend เพราะจะไม่เห็นเนื้อหาของทั้งสองฝ่ายอีกต่อไป รวมถึงติดต่อหากันไม่ได้อีกแล้ว แต่ถ้าต้องการวิธีตัดขาดแบบเจ็บแต่จบก็ต้องบล็อกนี่แหละ

Unfollow (เลิกติดตาม)

สำหรับวิธีนี้เหมาะกับคนที่อยากให้จำนวนเพื่อนเท่าเดิม คนอื่นมาเห็นจะได้ไม่สงสัย แต่จริง ๆ ไม่รับรู้เรื่องราวอะไรของอีกฝ่ายแล้ว ถ้าอยากทราบข่าวคราวก็ต้องเข้าไปที่โปรไฟล์อีกฝ่ายเท่านั้น

Take a Break (พักเบรค)

จัดว่าเป็นฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับเวลาเจอโพสต์จากผู้ใช้รายใดรายหนึ่งมากเกินไปจนอยากจะหยุดพักสักแป๊บ สามารถตั้งค่าให้พบโพสต์จากผู้ใช้คนนั้นได้ในจำนวนจำกัด แต่พบได้ในแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กบนมือถือเท่านั้น

สไลด์รูปภาพ

 วิธีอื่น ๆ ที่นำไปสู่การยุติความสัมพันธ์วิธีอื่น ๆ ที่นำไปสู่การยุติความสัมพันธ์วิธีอื่น ๆ ที่นำไปสู่การยุติความสัมพันธ์

Snooze (งีบหลับ)

สำหรับวิธีนี้เหมาะกับคนที่ยังไม่แน่ใจว่าจะไปต่อหรือ Unfriend คน ๆ นี้ดี เฟซบุ๊กก็เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ Snooze ซ่อนเนื้อหาผู้ใช้คนอื่น ๆ เป็นเวลา 30 วัน เสมือนการงีบหลับแป๊บนึง หากยังคิดถึงกันก็คบหากันต่อไป แต่ถ้าไม่มีเขาเราก็อยู่ได้ ก็ Unfriend ไปเลย

Hide Post (ซ่อนเนื้อหา)

วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบเนื้อหาจากคนบางคนที่มักจะมาซ้ำ ๆ ถี่ ๆ มากจนเกินไป สามารถเลือกซ่อนบางโพสต์ได้

ใครที่กังวลกับการถูก Unfriend หรืออยาก Unfriend ใครสักคนในชีวิต ขอบอกว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตทุกคน หากไม่อยาก Unfriend ก็มีวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ห่างเหินกันง่ายขึ้น และเชื่อว่าทุกคนตัดสินใจทำสิ่งที่ดีที่สุดในความสัมพันธ์ไม่ว่าจะจบลงด้วยดีหรือไม่ และขอให้ทุกคนจัดการกับการ Unfriend ได้ทุกคนนะ

ต้นฉบับ :