Engagement, Reach และ Impression คืออะไร ? เช็คยอดยังไงได้บ้าง ?

เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 53,287
เขียนโดย :
Engagement, Reach และ Impression คืออะไร ? เช็คยอดยังไงได้บ้าง ?
Engagement, Reach และ Impression คืออะไร ? เช็คยอดยังไงได้บ้าง ?
เมื่อ :
ผู้เข้าชม : 53,287
เขียนโดย :

ยอด Engagement, ยอด Reach และ ยอด Impression คืออะไร ?

ถ้าใครอยู่ในแวดวง การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) หรือเป็น อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่ใช้งานโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในการโปรโมตแบรนด์หรือสินค้าและบริการแล้วละก็ หนึ่งในสิ่งสำคัญที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจกันอย่างมากก็น่าจะต้องเป็น "ยอด" ของโพสต์แต่ละโพสต์อย่างแน่นอน เพราะ "ยอด" นั้นจะเป็นตัววัดความสำเร็จของโพสต์นั้น ๆ ว่ามีผู้คนพบเห็น และให้ความสนใจคอนเทนต์ ในรูปแบบใดของเรามากที่สุด (เช่น ภาพโพสต์, ลิงก์ข่าวสาร, ภาพอินโฟกราฟิก, คลิป หรือโพสต์ข้อความ เป็นต้น) และทำให้เราสามารถนำเอาผลไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนา และปรับปรุงการทำงานในอนาคต ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย

บทความเกี่ยวกับ Social Media อื่นๆ

โดย "ยอด" ที่เราเรียกรวม ๆ กันนี้ก็ไม่ได้มีแค่ตัวเลขเดียวเท่านั้น เพราะมันสามารถแบ่งประเภทของยอดออกไปได้อีกหลายประเภท ซึ่ง "ยอด" ที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกันนั้นก็ได้แก่ "Engagement", "Reach" และ "Impression" ที่จะมีการแสดงตัวเลขการเข้าถึงคอนเทนต์ ของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

เนื้อหาภายในบทความ

Engagement คืออะไร ?

สำหรับ Engagement จะเป็นยอดตัวเลขที่ผู้พบเห็นมีการ "ตอบสนอง" ต่อโพสต์นั้น ๆ ทั้งทางบวก (Positive Feedback) เช่น ยอดถูกใจ (Like), ยอดแชร์ (Share), ยอดในการแสดงความคิดเห็น (Comment) และทางลบ (Negative Feedback) อย่างการแจ้งสแปม, การกดซ่อนโพสต์ เป็นต้น โดยบนโซเชียลมีเดียแต่ละแพลทฟอร์มก็จะมีการนับยอด Engagement ที่แตกต่างกันออกไป

Engagement คืออะไร ?
ภาพจาก : https://www.clearvoice.com/blog/impressions-vs-reach-vs-engagement/

Reach คืออะไร ?

ยอด Reach เป็นยอดจำนวนผู้คนที่มีการ "พบเห็น" โพสต์นั้น ๆ โดยที่ผู้ใช้งาน 1 Account จะนับยอดเป็น 1 Reach (แม้ว่าจะมีการพบเห็นโพสต์ดังกล่าวซ้ำมากกว่า 1 ครั้งก็จะนับแค่ครั้งเดียวเท่านั้น) ซึ่งยอด Reach จะสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

Reach คืออะไร ?
ภาพจาก : https://www.clearvoice.com/blog/impressions-vs-reach-vs-engagement/

Organic Reach (การเข้าถึงแบบธรรมชาติ)

Organic Reach หรือยอดการพบเห็นโพสต์แบบปกติ (หรือแบบธรรมชาติ) ที่โพสต์นั้น ๆ ทำการแสดงผลขึ้นบนหน้า Feed หรือ Timeline ของผู้ใช้ โดยอาจเป็นผู้ที่ติดตามเพจ (Page Followers) หรือบัญชี (Account) ดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ (หากไม่ได้ติดตาม Account นั้น ๆ อยู่ก่อนอาจมีการแสดงผลตาม "ความสนใจ" หรือความนิยมที่คาดว่าผู้พบเห็นอาจถูกใจคอนเทนท์ดังกล่าวจึงนำมาแสดงผลในหน้า Feed)

Paid Reach (การเข้าถึงด้วยการจ่ายเงิน)

Paid Reach หรือยอดการพบเห็นโพสต์บนหน้า Feed จากการจ่ายเงินยิงโฆษณา ซึ่งบุคคลที่พบเห็นโพสต์อาจเป็นผู้ติดตาม (Follower) ของ Account นั้น ๆ หรือเป็นบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในกรอบกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณาก็ได้ เช่น โฆษณากาแฟจะขึ้นมาบนฟีดของกลุ่มคนวัยทำงาน 

Organic vs Paid Reach
ภาพจาก : https://pyxl.com/blog/facebook-insights-distinguishing-reach-v-engagement/

Impression คืออะไร ?

ในส่วนของยอด Impression เป็นยอดตัวเลขการ "แสดงผล" ทั้งหมดของโพสต์นั้น ๆ บนหน้า Feed (หรือ Timeline) ของโซเชียลมีเดีย โดยจะนับยอดการแสดงผลทั้งหมดเป็น "จำนวนครั้ง" โดยผู้ใช้ 1 คนอาจมีการพบเห็นโพสต์นั้น ๆ มากกว่า 1 ครั้งก็เป็นได้ (ต่างจากยอด Reach ที่จะนับตามจำนวนผู้ใช้ที่พบเห็นโพสต์) เช่น ทำการซื้อโฆษณา YouTube ให้มียอดการแสดงผล 1,000 ครั้ง จะมียอด Impression เท่ากับ 1,000 ในขณะที่ยอด Reach อาจอยู่ที่ 800 - 900 คน และยอด Engagenent 500 - 600 ครั้งเพราะผู้ใช้อาจพบเห็นโฆษณาเดิมมากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้นยอด Impression ของโพสต์ต่าง ๆ จึงจะมีมากกว่ายอด Reach และ Engagement เสมอ

Impression คืออะไร ?
ภาพจาก : https://www.clearvoice.com/blog/impressions-vs-reach-vs-engagement/

วิธีเช็คตรวจสอบยอด Engagement, Reach และ Impression บนโซเชียลมีเดีย ของแต่ละแพลตฟอร์ม

แพลตฟอร์ม Facebook

สามารถเช็คยอดของโพสต์ต่าง ๆ ได้โดยไปที่ "Creator Studio" แล้วคลิก "View Insights" ของโพสต์ที่ต้องการ ก็จะมีหน้าต่างกระเด้ง (Pop-up Windows) ขึ้นมาให้สามารถเช็ค

  • ยอดการกดถูกใจ (Like)
  • ยอดการแสดงความคิดเห็น (Comment)
  • ยอดจำนวนการแบ่งปัด หรือ ยอดแชร์ (Share)
  • ยอดปฏิกริยา (Reaction)
    • การกดรัก (Love)
    • การกดหัวเราะ (Haha)
    • การกดเศร้า (Sad)
    • การกดโกรธ (Angry)
  • ยอดการคลิกลิงก์ (Link Clicked)
  • ยอดการซ่อนโพสต์ (Hide Post)
  • ยอดการรายงานสแปม (Report as Spam)
  • การยกเลิกการกดถูกใจ (Unlike Page) (จากการพบเห็นโพสต์)

Facebook

ภาพจาก : https://later.com/blog/facebook-analytics/

แพลตฟอร์ม Instagram

สำหรับ Instagram (หรือ IG) เราสามารถเช็คได้ด้วยการเข้าไปที่ส่วนของ View Insight ที่โพสต์นั้น ๆ โดยข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นนั้น ก็จะมีตั้งแต่

  • ยอดการกดถูกใจ (Like)
  • ยอดการแสดงความคิดเห็น (Comment)
  • ยอดจำนวนการแบ่งปัด หรือ ยอดแชร์ (Share)
  • ยอดการบันทึกโพสต์ (Post Saved)
  • ยอดการคลิกลิงก์ (Link Clicks)
  • ยอดการเข้าชมโปรไฟล์ (Profile Visits)
  • ยอดจำนวนผู้ติดตามใหม่ ที่ได้จากโพสต์นั้น (Follows)

ในขณะที่บน Stories เมื่อกด View Insight ก็จะมี

  • ยอดการตอบกลับ (Reply)
  • ยอดการเข้าชมโปรไฟล์ (Profile Visited)
  • ยอดการส่งสติกเกอร์ (Sticker)
  • ยอด Navigation (การแตะชม Stories ก่อนหน้า / ถัดไป และยอดการกดออกจาก Stories)

หรือไปที่ส่วนของ "Creator Studio" ของ Instagram เพื่อดูยอด Engagement แบบละเอียดได้เลย

สไลด์รูปภาพ

 InstagramInstagramInstagramInstagramInstagramInstagram

ภาพจาก : https://later.com/blog/facebook-analytics/ และ https://www.squaredacademy.com/learn/instagram-insights-explained

แพลตฟอร์ม YouTube

ในส่วนของ YouTube เมื่อกดไปยังคลิปที่ต้องการเช็คยอดแล้วเลือก "Insight" จะเห็นว่ามีแท็บของ "Engagement" และ "Reach" ปรากฎขึ้นมา

โดยในแท็บของ Reach จะมี

  • การรวมผลยอดจำนวนครั้งที่คลิปแสดง (Impressions)
  • ยอดการรับชม (Views)
  • ยอดการเข้าถึงคลิปจากแหล่งต่าง ๆ (Traffic Source Types)
  • คีย์เวิร์ดการค้นหา (Keywords)
  • คลิปวิดีโอแนะนำ (Recommended Clips)

ส่วนในแท็บ Engagement จะมี

  • เวลาการชมคลิปทั้งหมด (Watch Time)
  • เวลาการชมคลิปโดยเฉลี่ย (Average View Duration)
  • เปอร์เซ็นต์การชมคลิปโดยเฉลี่ย (Average Percentage Viewed)
  • ยอดการคลิกลิงก์ (Link Clicked)
  • ยอดการกดถูกใจ (Like) / ไม่ถูกใจ (Dislike)

ในขณะที่คอมเมนท์ต่าง ๆ จะมีเมนูแยกให้สามารถกดเข้าไปตอบกลับได้อย่างสะดวก และยอดการ "แชร์" คลิปจะอยู่ใน Advanced Mode (กดที่ More แล้วเลือก "Sharing Service" ได้เลย)

สไลด์รูปภาพ

 YouTubeYouTubeYouTubeYouTubeYouTubeYouTubeYouTubeYouTube

แพลตฟอร์ม TikTok

บน TikTok จะมี "เมนู Analytics" ที่สามารถกดเข้าไปดูยอดต่าง ๆ ได้ทั้ง

  • เวลาการชมคลิปทั้งหมด (Total Play Time)
  • ยอดเข้าชมคลิป (Total Views)
  • เวลาการรับชมคลิปโดยเฉลี่ย (Average Watch Time)
  • ยอดการเข้าชมโปรไฟล์ (Profile Views)
  • ยอดการกดถูกใจ (Like)
  • ยอดการแสดงความคิดเห็น (Comment)
  • ยอดจำนวนการแบ่งปัด หรือ ยอดแชร์ (Share)
สไลด์รูปภาพ

 TikTokTikTokTikTok

ภาพจาก : https://sproutsocial.com/insights/tiktok-analytics/

แพลตฟอร์ม Twitter

ถ้าไม่ได้ต้องการดูข้อมูลแบบละเอียดก็สามารถดูสถิติ คร่าวๆ ของทวีตนั้นๆ ได้เลย

  • ยอดการทวีตซ้ำ (Retweet)
  • ยอดการทวีตแบบอ้างอิงจากทวีตเดิม (Quote Tweet)
  • ยอดการกดถูกใจ (Like)

แต่ในกรณีที่ ถ้าหากต้องการดูข้อมูลโดยละเอียด ก็สามารถเข้าไปที่ Twitter Analytics เพื่อเข้าไปดูข้อมูลในส่วนของ ...

  • ยอดการทวีตซ้ำ (Retweet)
  • ยอดการทวีตแบบอ้างอิงจากทวีตเดิม (Quote Tweet)
  • ยอดการกดถูกใจ (Like)
  • ยอดจำนวนครั้งที่ทวีตถูกแสดงให้ผู้อื่นเห็น (Impressions)
  • ยอดการเข้าเยี่ยมชมโปรไฟล์ (Profile Visits)
  • ยอดจำนวนผู้ติดตามใหม่ ที่ได้จากโพสต์นั้น (New Followers)
  • ยอดการคลิกลิงก์จากทวีต (Link Clicks)
  • ยอดการชมสื่อ (Media Views)

Twitter
ภาพจาก : https://www.digitalinformationworld.com/2021/11/twitter-is-updating-better-insights-on.html